ข้อมูลพื้นฐาน


ชื่อ : พ่อครูธนวัฒน์ ราชวัง

ทักษะด้าน : ด้านกลองพื้นบ้านล้านนา

สาขา : สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

ประจำปีพุทธศักราช : 2560

หมายเลขโทรศัพท์ :

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 135 หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180

ประวัติ :

นายธนวัฒน์ ราชวัง เกิดวันที่ 3 สิงหาคม 2508 มีบุตร 2 คน และธิดา 1 คน ภูมิลำเนา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บิดาชื่อ นายมนัส ราชวัง มารดาชื่อ นางคำแปง ราชวัง เป็นบุตรคนเดียว



ประวัติการศึกษา


ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองปลามัน จังหวัดเชียงใหม่
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่
ระดับประกาศนียบัตร การบัญชี โรงเรียนพณิชยการลานนาและเทคโนโลยีแพร่
ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่
ระดับเนติบัณฑิตไทย เนติบัณฑิตยสภา


ประวัติการทำงาน


ประวัติการทำงาน
พุทธศักราช 2556
1.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยประเภทเยาวชน งานมหกรรมกลองล้านนา
2.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัย 8 จังหวัดภาคเหนือหอธรรมนิทัศน์ ณ วัดพระธาตุศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา
3.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานมหัศจรรย์วันกระดาษสา อำเภอ   สันกำแพง
4.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานฉลองสิริราชสมบัติ 60 พรรษา
5.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานวันเด็กแห่งชาติ ของ อบจ.เชียงใหม่
6.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยการแข่งขันงานสืบสานวิถีสองฝั่งปิง
7.    รองชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานสงกรานต์ที่พุทธสถาน เชียงใหม่
8.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานสงกรานต์วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
9.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยวัดสันแคบกลาง อำเภอสันกำแพง
10.    รองชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยวัดดอนมูล อำเภอสันกำแพง
11.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานประเพณีสรงนํ้าวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
12.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานสรงนํ้าวัดพระบาทตากผ้า
13.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยจัดโดย วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
14.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุและยกยอดฉัตร วัดป่าดาราภิรมย์
15.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานครอบครัวอบอุ่น
16.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานพระชายาเจ้าดารารัศมี
17.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานพระชายาเจ้าดารารัศมี
18.    รองชนะเลิศการแข่งขันวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 1
19.    รับเชิญให้แสดงในงานศิลปวัฒนธรรม 4 ภาค ที่อุดรธานี
20.    รับเชิญร่วมแสดงในรายการเกมพันหน้า ช่อง 7 และหมํ่าโชว์ ช่อง 5
21.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานมหัศจรรย์ กระดาษสาบ้านต้นเปา
22.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยสถาบันการพละศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่
23.    รองชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัย งานวันอนุรักษ์มรดกไทยประเภทประถมศึกษา
24.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัย งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
25.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัย งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง อบต. สันข้าวแคบกลาง 

พุทธศักราช 2557
1.    รองชนะเลิศการแข่งขันประกวดดนตรีพื้นเมือง งานจุ้มสะหรีปี๋ใหม่เมือง
2.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัย งานปอยหลวงวัดธาตุคำ
3.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานมหัศจรรย์ กระดาษสาบ้านต้นเปา
4.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยสถาบันการพละศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่
5.    รางวัลชนะเลิศ การตีกลองสะบัดชัย ในงานวันเด็กแห่งชาติ
6.    รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันตีกลองสะบัดชัย ระดับเยาวชน ในงานพระนางจามเทวีและงานกาดชาด จังหวัดลำพูน
7.    รองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
8.    รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันกลองสะบัดชัย ประเภทประชาชน งานสรงนํ้าองค์พระบรมธาตุเจ้าหริภุญชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
9.    การแข่งขันตีกลองสะบัดชัย “วันกตัญญู” วัดดอนมูล ตำบลทรายมูลอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
10.    รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันตีกลองสะบัดชัย รุ่นประชาชนทั่วไป โครงการแข่งขันตีกลองสะบัดชัยชิงแชมป์ภาคเหนือ
11.    รางวัลชนะเลิศ การประกวด “มหัศจรรย์กลองสะบัดชัยล้านนา กาดอนุสาร” ณ เวทีการแสดงกาดอนุสาร
12.    รองชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัย งานวันอนุรักษ์มรดกไทย ประเภทประถมศึกษา
13.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานวันอนุรักษ์มรดกไทย ประเภทมัธยมศึกษา
14.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัย งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
15.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัย งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง อบต.สันข้าวแคบกลาง
16.    รองชนะเลิศการแข่งขันประกวดดนตรีพื้นเมือง งานจุ้มสะหรีปี๋ใหม่เมือง
17.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัย งานปอยหลวงวัดธาตุคำ
18.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานมหัศจรรย์ กระดาษสาบ้านต้นเปา
19.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยสถาบันการพละศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่
20.    รองชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัย งานวันอนุรักษ์มรดกไทย
21.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยงานวันอนุรักษ์มรดกไทย ประเภทมัธยมศึกษา
22.    รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันตีกลองสะบัดชัยในพิธีเปิดศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน สภาวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 

พุทธศักราช 2558
1.    รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันดนตรีพื้นเมือง รุ่นประชาชนทั่วไป ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
2.    รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันตีกลองล้านนา “กลองสะบัดชัย” ครั้งที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
3.    รางวัลชนะเลิศ การประกวด “มหัศจรรย์กลองสะบัดชัยล้านนา กาดอนุสาร” ณ เวทีการแสดงกาดอนุสาร
4.    รางวัลชนะเลิศ กลองสะบัดชัย งานปอยหลวงพระธาตุเจดีย์วัดป่าป๋วย    อ.บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
5.    รางวัลชนะเลิศ การประกวดตีกลองสะบัดชัย ข่วงละอ่อนเจียงใหม่      สืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง
6.    รางวัลชนะเลิศ กิจกรรมการประกวดกลองสะบัดชัย “งานมหัศจรรย์ล้านนาเมืองกระดาษบ้านต้นเปา ครั้งที่ 9” ณ เทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอ      สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
7.    รางวัลชนะเลิศ การประกวดตีกลองสะบัดชัย ณ วัดนํ้าจำ ตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
8.    รางวัลชนะเลิศ การประกวดกลองสะบัดชัยของโครงการตลาดอนุสาร     ณ เวทีตลาดอนุสาร ถนนช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
9.    รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันกลองสะบัดชัย ประเภทประชาชน งานสรงนํ้าองค์พระบรมธาตุเจ้าหริภุญชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
10.    รางวัลชนะเลิศ การประกวดกลองสะบัดชัย ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
11.    รางวัลชนะเลิศ การประกวดกลองมองเซิง ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
12.    รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันตีกลองสะบัดชัย เนื่องในการจัดงานประเพณี “ของดีอำเภอสันทราย” ณ ที่ว่าการอำเภอสันทราย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
13.    ชนะเลิศ การแข่งขัน กลองสะบัดชัย งานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพอัครมหาศิลปิน จัดโดย โรงเรียนขาลสุวรรณอนุสรณ์และสภาวัฒนธรรมอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
14.    ชนะเลิศ การแข่งขัน กลองสะบัดชัย งานเทิดไท้เจ้าฟ้ามหาสิรินธร จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
15.    ชนะเลิศ การแข่งขัน กลองสะบัดชัย งานสรงนํ้าและถวายผ้าไตรพระราชทาน วัดยางกวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
16.    ชนะเลิศ การแข่งขัน กลองสะบัดชัย งานข่วงละอ่อนเชียงใหม่ ป๋าเวณีปีใหม่เมือง จัดโดย สภาเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงใหม่
17.    รองชนะเลิศ การแข่งขัน กลองบูชา งานตีกลองปู่จาไหว้สาครูบาศรีวิชัย จังหวัดลำพูน
18.    ชนะเลิศ การแข่งขัน กลองสะบัดชัย งานตีกลองปู่จาไหว้สาครูบาศรีวิชัย จังหวัดลำพูน

พุทธศักราช 2559
1.    รองชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยชิงแชมป์ภาคเหนือ เทศบาลเมืองแกน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
2.    รองชนะเลิศการแข่งขันกลองสะบัดชัยชิงถ้วยพระราชทาน ศูนย์การค้าเมญ่า
3.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองบูชา งานสงกรานต์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4.    ชนะเลิศการแข่งขันกลองบูชา วัดตำหนักธรรมนิมิต อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


การเผยแพร่ผลงาน


วัน เดือน ปี

หน่วยงานที่รับการอบรม

ผลงานที่ได้รับจากการอบรม

2545 - ปัจจุบัน

ชมรมเยาวชนรักษ์ถิ่นเกิด

แสดงผลงานสร้างชื่อเสียงจนมีผลงานระดับประเทศ

 

โรงเรียนบ้านหนองปลามัน

ตั้งชมรมสืบสาน รร.บ้านหนองปลามัน

2556

เยาวชนบ้านขี้เหล็กหลวง

ตั้งคณะกลองสะบัดชัย

2555

ลูกยองสืบสานล้านนา จ.ลำพูน

ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ

2556

วัดแม่แอน

จัดตั้งคณะกลองบูชาได้

2556

วัดใหม่ป่าฝาง จ.ลำพูน

จัดตั้งคณะกลองสะบัดชัยได้

2556

วัดตำหนักธรรมนิมิตร

จัดตั้งคณะกลองตึ่งโนงได้

2557

โรงเรียนบ้านหลวง ต. โหล่งขอด อ. พร้าว

ตั้งคณะกลองสะบัดชัย

2557

ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสวนดอก

จัดตั้งคณะกลองสะบัดชัยได้

2557

โรงเรียนบ้านหนองปลามัน

จัดตั้งคณะกลองมองเซิงได้

2557

โรงเรียนบ้านแม่แฝกใหม่

จัดตั้งกลองสะบัดชัยได้

2557

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

วัดสว่างเพชร

มีความสามารถในการเด่นดนตรีพื้นเมือง

และการแสดงพื้นบ้านหลายชนิด

2558

โรงเรียนวัดไร่ดง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

จัดตั้งวงกลองสะบัดชัยได้

2558

วัดใหม่ป่าฝาง

จัดตั้วงกลองสะบัดชัยได้

 

โรงเรียนชุมชนวัดศรีดอนชัย

นักเรียนมีความสนใจและนำมาฝึกหัด

มากขึ้น

2559

โรงเรียนบ้านหนองปลามัน

จัดตั้งนักเรียนโครงการสานฝันสะบัดชัยสร้างรายได้สู่อาชีพ

 

โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหลวง

จ.ลำพูน

จัดตั้งชมรมกลองสะบัดชัยได้

 

โรงเรียนหนองไคร้ จ.เชียงใหม่

จัดตั้งชมรมกลองสะบัดชัยได้


รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ


พ.ศ. 2546     

  • ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา จากอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. 2555   

  • ผู้นำชุมชนที่มีผลงานดีเด่น จากสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
  • ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ระดับอำเภอ ประเภทบุคคล จากสำนักงาน วัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. 2557     

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีศักยภาพ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2557 จากจังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. 2558

  • รางวัล “วัฒนคุณาธร” ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี 2558 ระดับจังหวัด จากจังหวัดเชียงใหม่
  • รางวัล “วัฒนคุณาธร” ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี 2558 ระดับประเทศ จากกระทรวงวัฒนธรรม 

พ.ศ. 2559     

  • บุคคลต้นแบบ “การอนุรักษ์สืบสานมรดกทางภูมิปัญญา” งานใต้ร่มพระบารมี จากเทศบาลนครเชียงใหม่
  • รางวัล “วัฒนคุณาธร” ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี 2559 ประเภทกลุ่มบุคคล ระดับประเทศ จากกระทรวงวัฒนธรรม

ชีวิตปัจจุบัน


  1. รับราชการ ณ สำนักตรวจเงินแผ่นดิน จังหวัดเชียงใหม่ ตำแหน่ง นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (กฎหมาย)
  2. ทำงานสืบสานงานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา ในชมรมเยาวชนรักษ์ถิ่นเกิด ณ วัดสว่างเพชร บ้านหนองปลามัน ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
  3. เป็นครูภูมิปัญญาท้องถิ่น สอนศิลปะการตีกลองสะบัดชัย โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 
  4. นำเยาวชนไปประกวดแข่งขันศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างต่อเนื่อง

บทสัมภาษณ์


แนะนำตัว

พ่อครูธนวัฒน์ ราชวัง ส่วนใหญ่รู้จักกันในนาม “ครูน้อง รัตน์ทิงเกิด” เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา ปี 2560 สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

ความเป็นมาของกลองสะบัดชัย

กลองสะบัดชัยในล้านนา ตามตำนานเป็นกลองที่มีมานานคู่บ้านคู่เมือง ส่วนใหญ่เรียกว่ากลองปู่จ่า (กลองบูชา) กลองใจยะมงคล (กลองชัยมงคล) ในอดีตการตีกลองจะใช้ในการทำศึกสงคราม เป็นการตีให้สัญญาณการเดินทัพ มีความเชื่อว่ากลองเป็นของสูง คู่กับกษัตริย์ จึงไม่มีใครกล้าเก็บกลองไว้ที่บ้าน ดังนั้นสถานที่เหมาะสมในการเก็บกลอง คือ วัด เมื่อเก็บกลองไว้ที่วัด ลักษณะการใช้งานก็เปลี่ยนไป เพลงและจังหวะการตีก็เปลี่ยนตาม เช่น เพลงบูชาธรรม การใช้งานด้านการรับใช้สังคม เช่น ใช้ตีตอนเรียกประชุม แจ้งข่าวสาร เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างกลองโบราณและกลองปัจจุบัน

ในสมัยก่อนกลองสะบัดชัย คือ กลองบูชา ที่มีขนาดใหญ่ ยากต่อการเคลื่อน-ย้าย ตั้ง-วาง ส่วนการผลิตกลอง จะใช้ไม้เนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ ซึ่งหาได้ง่าย แต่ปัจจุบันไม้ขนาดใหญ่   หายาก ลำบากในการตัด เกี่ยวข้องในด้านกฎหมาย ไม้ในการผลิตกลองจึงหายากขึ้น ดังนั้นกลองสะบัดชัยในอดีตซึ่งเป็นกลองบูชาขนาดใหญ่ จึงถูกลดขนาดลงมา

โอกาสที่ใช้ตีกลอง

การเคลื่อนทัพ คำว่า ชัย (ชัย-ยะ) เป็นชื่อมงคล จึงใช้กลองสะบัดชัยตีในการเคลื่อนทัพ การเดินทัพ หรืออาจจะตีเมื่อชนะศึก ปัจจุบันกลองมีบทบาทในงานมหรสพ มีเครื่องดนตรีอื่นๆ ผสมผสาน เช่น ฉาบ ฆ้อง การตีกลองสะบัดชัยจึงเปลี่ยนไป เป็นการแสดงที่โลดโผนและตื่นเต้นขึ้น ทำให้เกิดความน่าสนใจและสนุกสนาน


ความแตกต่างระหว่าง กลองสะบัดชัย-กลองบูชา

กลองสะบัดชัยแบบ กลองบูชา (กลองปู่จ่า) และกลองชัยมงคล (กลองใจยะมงคล) เป็นกลองประเภทเดียวกัน แตกต่างกันที่ขนาด กลองบูชา จะมีขนาดใหญ่ กลองชัยมงคล มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย เพลงกลองจะตีจังหวะช้า เช่น สาวลำเต๊อะ เสือขบตุ๊ (เสือกัดพระ) ตีล่องน่าน เป็นต้น เพลงจังหวะเร็ว เช่น ตีฟาดแส้ ซึ่งมีลีลาประกอบ ไม่ตายตัว พบเห็นในย่านร้องวัวแดง ย่านวัดกู่เต้า ในจังหวัดเชียงใหม่

ความหมายของนาคประดับกลอง

ในอดีตใช้ลูกตกประดับด้านข้างกลอง (ลูกตก หมายถึง กลองเล็กที่ประดับด้านข้างกลองใหญ่ จำนวน 3 ลูก) ไม่มีนาคเหมือนปัจจุบัน กลองที่มีนาคประดับจะพบเห็นในเชียงใหม่ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ใช้นาคประดับ เช่น ลำปาง พะเยา หรือชุมชนสลีปิงใจ อำเภอเมืองเชียงใหม่จะแกะลายไทยประดับ เป็นต้น ด้วยความเชื่อที่ว่ากลองคู่กับวัด และวัดส่วนใหญ่ก็จะมีนาคลักษณะโค้งๆ ซึ่งในแง่ศิลปะ นาคจะโค้งรับตัวกลอง แต่นาคไม่จำเป็นต้องคู่กับกลองสะบัดชัยเสมอไป เพราะฉะนั้นเหตุผลที่ใช้นาคประดับกลองน่าจะเพื่อความสวยงามมากกว่า

ท่าทางประกอบการตีกลอง
เมื่อก่อนจะไม่มีการใช้ท่าทาง ขึ้นศอก ขึ้นเข่า ประกอบการตีกลอง ด้วยความเชื่อว่ากลองเป็นของสูง  คู่พระมหากษัตริย์ เจ้าบ้านเจ้าเมือง ก่อนตีกลองต้องไหว้เสมอ แต่ปัจจุบันมีการนำกลองมาใช้ในงาน รื่นเริงในการสมโภช จึงมีการใช้ท่าทางประกอบในการตี เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและดึงดูดความสนใจจากผู้ชม

การอนุรักษ์กลองสะบัดชัย
กลองสะบัดชัยเป็นมรดกทางภูมิปัญญา ถ้ายังไม่มีการพัฒนาให้ทันกับยุคสมัย จะทำให้สูญหายไป การผสมผสานศิลปะการแสดงในโชว์กลองสะบัดชัยจะทำให้ดูสวยงาม และน่าสนใจมากขึ้น เช่น เพิ่มจำนวนกลองจาก 1 ลูก เป็น 9 ลูก เพิ่มลีลาในการตีให้พร้อมเพรียงกัน ใช้ท่าทางเดียวกัน เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม เป็นต้น การ   ตีกลองสะบัดชัยลักษณะนี้จะพบเห็นได้ในเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย การอนุรักษ์การแสดงกลองสะบัดชัยของพ่อครูธนวัฒน์ ราชวัง คือ ต้องมีการเรียนรู้รุ่นต่อรุ่น โดยจัดตั้งโครงการบ้านหลังเลิกเรียน ลักษณะของโครงการจะเป็นการให้เด็กในละแวกนั้นมาเรียน มาเล่น มาฝึก โดยเริ่มจากการให้รุ่นพี่สอนการบ้าน ฝึกเป็นจิตอาสา กวานลานวัด เก็บขยะและเริ่มฝึกเล่นเครื่องดนตรีตามใจชอบ เพื่อให้เด็กค้นหาความชอบ และความถนัดด้วยตนเองไประยะหนึ่ง โดยพ่อครูจะเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริม และฝึกฝนเด็กตามความถนัดของแต่ละคน ทั้งนี้ บวกกับพรสวรรค์ที่เด็กมีจะทำให้เกิดการพัฒนาที่รวดเร็ว เด็กจะรักในสิ่งที่ทำ และจะฝึกฝนเพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ


 


สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รหัสไปรณีย์ 50300
โทรศัพท์ 0-5388-5903 โทรสาร 0-5388-5900
เวลาทำการ 08.30 – 16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ 08.30 – 15.30 น.


สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2559, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่